Patek Philippe สืบสานเจตนารมณ์ ส่งต่อความสำเร็จ จากรุ่นสู่รุ่น

Cultural Perspectives • 15 Oct 2019

Patek Philippe สืบสานเจตนารมณ์ ส่งต่อความสำเร็จ จากรุ่นสู่รุ่น


“ช่วงปี 2018 ผมเดินทางไปเจนีวาเพื่อร่วมฉลองวันเกิด อายุครบ 80 ปี ของฟิลิปป์ สเติร์น (Philippe Stern) ก็มีแค่เราสองคนนี่แหละครับ ตอนที่ยืนถ่ายภาพนี้กันอยู่ ฟิลิปป์ก็หันมาพูดกับผมว่า โอ้โห เฮนรี เวลามันผ่านไปเร็วจริงๆ เราสองคนรู้จักกันมา 50 ปีกว่าแล้วนะ เราต้องส่งต่อค่านิยมการทำธุรกิจของเราให้ลูกหลาน คนเราจะทำธุรกิจร่วมกันให้ยั่งยืนได้ ต้องอาศัยมิตรภาพและขนบประเพณีที่สืบทอดกันมา” ดร. เฮนรี เทย์, ประธานกลุ่มบริษัท The Hour Glass กล่าว

ดร. เฮนรี เทย์ (Dr. Henry Tay) และ มร.ฟิลิปป์ สเติร์น (Mr. Philippe Stern)

ดร. เฮนรี เทย์ และ มร.ฟิลิปป์ สเติร์น

จากจุดเริ่มต้น

ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวเทย์และครอบครัวสเติร์นนั้น ย้อนกลับไปในช่วงปี 1960 ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์จากรุ่นสู่รุ่น และมิตรภาพอันแน่นแฟ้นระหว่างทั้งสองครอบครัว ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อมั่น ไว้วางใจ และค่านิยมที่มีร่วมกันอันได้แก่ การรักษา และสืบสานซึ่งศาสตร์และศิลปะในการผลิตเรือนเวลาชั้นสูง ที่เป็นมรดกสืบทอดกันมา รวมไปถึงการสร้างความนิยมชมชอบในแบรนด์ที่เป็นที่สุดของนาฬิกาชั้นสูงอย่างปาเต็ก ฟิลิปป์อีกด้วย

Patek Philippe advertisement featuring Lee Chay & Co and Orchard Watch in The Straits Times (18 February, 1978)
โฆษณานาฬิกาปาเต็ก ฟิลิปป์ โดยห้างขายนาฬิกา Lee Chay & Co และ Orchard Watch
ในหนังสือพิมพ์ The Straits Times ประเทศสิงคโปร์ (ฉบับวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 1978)

“ช่วงปี 50 และ ’60 ซึ่งสิงคโปร์ยังคงเป็นอาณานิคมภายใต้การปกครองของประเทศอังกฤษ และต่อมาได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซียที่เป็นประเทศก่อตั้งใหม่นั้น H. Sena เป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการของปาเต็ก ฟิลิปป์ ได้สั่งซื้อนาฬิกาโดยตรงจากสวิตเซอร์แลนด์มาตั้งแต่ปี 1952 ต่อมาเมื่อสิงคโปร์ประกาศอิสรภาพเป็นชาติอธิปไตยในปี 1965 บริษัท Watches of Switzerland ของครอบครัว Favre-Leuba ชาวสวิส ก็ได้รับอนุญาตจากปาเต็ก ฟิลิปป์ให้เป็นตัวแทนจำหน่ายนาฬิกา ทั้งในสิงคโปร์และมาเลเซีย เพิ่มอีกราย หลังจากนั้น บริษัท Lee Chay Watch ของคุณพ่อผมก็ได้เริ่มทำธุรกิจค้าปลีกนาฬิกาปาเต็ก ฟิลิปป์กับ Watches of Switzerland ตั้งแต่ช่วงปี 60 เป็นต้นมา และในปี 1978 บริษัท Orchard Watch ในเครือ Lee Chay & Co ก็ถูกแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายของปาเต็ก ฟิลิปป์อย่างเป็นทางการ” ดร.เทย์ ระลึกความหลังเมื่อกึ่งศตวรรษก่อนหน้า

The Straits Times (1 November, 1979)
หนังสือพิมพ์ The Straits Times ประเทศสิงคโปร์ (ฉบับวันที่ 1 พฤศจิกายน 1979)

“ผมกลับจากออสเตรเลียเมื่อปี 1971 จำได้ว่าช่วงนั้น เป็นช่วงที่ฟิลิปป์ สเติร์น เริ่มก้าวขึ้นมามีบทบาทในการบริหารปาเต็ก ฟิลิปป์มากขึ้น และอยู่ในช่วงที่เขาเริ่มเดินทางไปพบปะ เยี่ยมชม ตัวแทนจำหน่ายในตลาดของเราพอดี ต้องบอกก่อนว่าย้อนไปช่วงปี ’70 ผู้คนในสิงคโปร์ยังไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษกันได้มากนัก และมุมมองด้านธุรกิจก็ยังคงไม่เปิดกว้างมากเท่ากับประเทศตะวันตก ด้วยความที่เราสื่อสารกันได้ เลยทำให้ฟิลิปป์กับผมคุ้นเคยกันได้ไม่ยาก และกลายมาเป็นมิตรภาพที่แน่นแฟ้น ยาวนาน ฟิลิปป์เป็นผู้ชายที่มีความเป็นสุภาพบุรุษตัวจริง และในความคิดของผม เขาคือบุคคลระดับตำนานของวงการนาฬิกาในยุคสมัยเราครับ”

The Hour Glass เริ่มต้นการเดินทางไปกับ Patek Philippe อย่างเป็นทางการ ตั้งแต่บริษัทก่อตั้งขึ้นในปี 1979 ซึ่งมาถึงปัจจุบันก็ 40 ปีแล้วครับ ช่วงแรกนั้นบริษัท Jebsen and Jessen เป็นผู้ดูแลเรื่องการจำหน่ายและการบริการที่เกี่ยวกับปาเต็ก ฟิลิปป์ทั้งหมด ก่อนจะเปลี่ยนมาอยู่ภายใต้การดูแลของ Geneva Master Time ซึ่งเป็นบริษัทที่ C. Melchers GmbH & Co ก่อตั้งขึ้นในช่วงกลางปี ’80 ทั้งตัวของฟิลิปป์เองและ Dirk Paulsen กรรมการบริษัท Geneva Master Time ต่างก็ให้การสนับสนุน The Hour Glass เป็นอย่างดี และตัวผมเองก็ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่เรามีความสัมพันธ์อันดี และแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เสมอมา ทั้งโดยส่วนตัวและในทางธุรกิจ ผมยังจำอีเวนท์ครั้งแรกที่บูติกของเราได้ดี เป็นงานนิทรรศการนาฬิกาปาเต็ก ฟิลิปป์ เดือนพฤศจิกายน ปี 1979 เราโปรโมทงานผ่านหนังสือพิมพ์เยอะมากก็เลยมีคนสนใจมาชมนิทรรศการกันคับคั่ง แม้แต่นักสะสมนาฬิกาจากมาเลเซียและอินโดนีเซียก็ยังเดินทางมาร่วมงานด้วย”

หนังสือพิมพ์ The Straits Times ประเทศสิงคโปร์ (ฉบับวันที่ 15 พฤศจิกายน 1979) The Straits Times (15 November, 1979)
หนังสือพิมพ์ The Straits Times ประเทศสิงคโปร์ (ฉบับวันที่ 15 พฤศจิกายน 1979)

ปี 2004 ครบรอบ 25 ปี The Hour Glass

ปาเต็ก ฟิลิปป์ร่วมฉลองโอกาสสำคัญที่ The Hour Glass มีอายุครบ 25 ปี ในปี 2004 ด้วยการผลิตนาฬิกา World Time Watch reference 5110P อิดิชั่นพิเศษ ซึ่งบนหน้าปัดนาฬิกาที่แสดงชื่อเมืองสำคัญๆ ทั่วโลก จะมีคำว่า ‘Singapore’ เป็นตัวอักษรสีแดง แทนที่ตำแหน่งที่ปกติจะเป็นคำว่า ‘Hong Kong’ ถือเป็นเรื่องน่ายินดีสำหรับพวกเราและชาวสิงคโปร์ หลังจากที่ชื่อประเทศสิงคโปร์ไม่ได้ปรากฏอยู่บนหน้าปัดเรือนเวลา World Time ของปาเต็ก ฟิลิปป์มาเป็นเวลาเกือบสี่ทศวรรษแล้ว

นาฬิกา Patek Philippe Ref.5110P
นาฬิกา Patek Philippe Ref.5110P

“หนึ่งในความทรงจำที่ผมประทับใจมากที่สุด ก็คือตอนที่ผมถามฟิลิปป์ว่าจะช่วยผลิตนาฬิกาอิดิชั่นพิเศษเพื่อฉลองครบรอบ 25 ปีให้กับ The Hour Glass ได้หรือไม่ ตอนนั้นฟิลิปป์บอกผมว่า เฮนรี เราทำให้เฉพาะตัวแทนจำหน่ายที่ดำเนินงานมาครบรอบ 100 ปีเท่านั้น ผมก็ตอบเขาไปว่า ฟิลิปป์ กว่า The Hour Glass จะอายุครบ 100 ปี เราสองคนคงจากโลกนี้ไปนานแล้ว!’ เขาก็หัวเราะแล้วก็บอกว่า โอเค ได้ เราจะทำให้’” ดร. เฮนรี เทย์ เล่าย้อนถึงความประทับใจ

Philippe & Thierry Stern’s note to Michael Tay on THG 25th Anniversary มร.ฟิลิปป์ และ มร.เทียร์รี สเติร์น ถึง มร.ไมเคิล เทย์ ในโอกาสครบรอบ 25 ปีของ The Hour Glass
โน้ตแสดงความยินดี จาก มร.ฟิลิปป์ และ มร.เทียร์รี สเติร์น ถึง มร.ไมเคิล เทย์ ในโอกาสครบรอบ 25 ปีของ The Hour Glass

เฉลิมฉลอง 50 ปีทองของประเทศสิงคโปร์

ในโอกาสฉลองครบรอบ 50 ปีที่สิงคโปร์ประกาศอิสรภาพ ปาเต็ก ฟิลิปป์ เปิดตัวนาฬิกาตั้งโต๊ะทรงโดมทั้งหมดสามเรือน ภายใต้แนวคิดการสะท้อนประวัติศาสตร์และอัตลักษณ์ความเป็นสิงคโปร์ และบริจาคให้คณะกรรมการมรดกแห่งชาติสิงคโปร์ (National Heritage Board) ซึ่งได้นำออกประมูลในเวลาต่อมา เพื่อนำรายได้ทั้งหมดสมทบทุนโครงการพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

Patek Philippe “Farquhar Collection” dome table clock นาฬิกาตั้งโต๊ะทรงโดม Patek Philippe “Farquhar Collection”
นาฬิกาตั้งโต๊ะทรงโดม Patek Philippe “Farquhar Collection”

The Hour Glass เป็นผู้ชนะการประมูลนาฬิกาตั้งโต๊ะ หมายเลขอ้างอิง 1675M ฟาร์คูฮาร์ คอลเลคชั่น ซึ่งได้รับการออกแบบผ่านแรงบันดาลใจจากรูปลักษณ์และเส้นสีของภาพเขียนสีน้ำรูปพืชพรรณธรรมชาติในประเทศสิงคโปร์ที่มีชื่อเสียง ซึ่งท่านผู้บัญชาการวิลเลียม ฟาร์คูฮาร์ (First Resident and Commandant) ของสิงคโปร์ในยุคอาณานิคมเป็นผู้สั่งทำขึ้นเป็นพิเศษ และ The Hour Glass ก็ได้บริจาคเรือนเวลานี้ให้เป็นหนึ่งในมรดกอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ภายใต้การดูแลของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติของประเทศสิงคโปร์ในเวลาต่อมา

ปาเต็ก ฟิลิปป์ ในประเทศไทย

เป็นเวลากว่า 25 ปีแล้ว นับตั้งแต่ มร. ฟิลิปป์ สเติร์น และคุณณรงค์ ธรรมาวรานุคุปต์ อดีตประธานผู้ล่วงลับของบริษัทพรีม่า ไทมส์⁠ ประเทศไทย พบกันเป็นครั้งแรก และในวันนี้ที่ธุรกิจของทั้งสองครอบครัว ส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่น มาถึงบุตรชายซึ่งก็คือ มร.เทียร์รี สเติร์น และคุณณรัณ ธรรมาวรานุคุปต์ และความสัมพันธ์อันดี ทั้งระหว่างสองครอบครัว และระหว่างปาเต็ก ฟิลิปป์ กับ บริษัทพรีม่า ไทมส์  ก็มีแต่ความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

พิธีเปิดอย่างเป็นทางการของ Patek Philippe boutiqueม ICONSIAM, Bangkok
พิธีเปิดอย่างเป็นทางการของปาเต็ก ฟิลิปป์ บูติก ณ ไอคอนสยาม กรุงเทพฯ

และในปี 2008 บริษัทพรีม่าไทมส์ และกลุ่มบริษัท The Hour Glass ก็ดำเนินกิจการร่วมกันในลักษณะ joint venture ภายใต้ชื่อ พีเอ็มที เดอะ อาวร์ กลาส (PMT The Hour Glass) ซึ่งเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสามบริษัท ที่ล้วนแต่ดำเนินธุรกิจแบบครอบครัวให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น บนพื้นฐานของความรักและศรัทธาในแบรนด์ปาเต็ก ฟิลิปป์ โดยมีพิธีเปิดอันยิ่งใหญ่ของปาเต็ก ฟิลิปป์บูติก ที่ไอคอนสยาม ในเดือนกุมภาพันธ์ 2019 ที่ผ่านมาเป็นสิ่งตอกย้ำถึงความสำเร็จของการร่วมธุรกิจ

ปาเต็ก ฟิลิปป์บูติก ที่ไอคอนสยาม กรุงเทพ ประเทศไทย Patek Philippe Boutique at IconSiam, Bangkok, Thailand
ปาเต็ก ฟิลิปป์บูติก ที่ไอคอนสยาม กรุงเทพ ประเทศไทย

“ความสำเร็จของปาเต็ก ฟิลิปป์นั้น ไม่เพียงเกิดจากการให้ความสำคัญ ต่อการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมการผลิตนาฬิกา หรือ ความก้าวหน้าของทักษะ ความเชี่ยวชาญ ในการผลิตนาฬิกาเท่านั้น แต่ยังสร้างขึ้นบนค่านิยมที่เป็นเครื่องกำหนดทิศทางในการบริหารงานภายในบริษัทอีกด้วย ในฐานะที่เป็นแบรนด์ผู้ผลิตนาฬิกาอิสระ ดำเนินธุรกิจแบบครอบครัว ทำให้ปาเต็ก ฟิลิปป์ไม่จำเป็นต้องตามกระแสแฟชั่นใดๆ ทุกผลงานของปาเต็ก ฟิลิปป์มีคุณค่า คู่ควรเป็นนาฬิกาที่มีความคลาสสิก เหนือกาลเวลา ทุกๆ ผลงานของปาเต็ก ฟิลิปป์ เป็นเสมือนมาตรฐานความสมบูรณ์แบบให้แก่วงการนาฬิกา และจะยังคงเป็นมาตตรฐานที่ปาเต็ก ฟิลิปป์รักษาไว้อย่างไม่มีเปลี่ยนแปลง” คุณณรัณ ธรรมาวรานุคุปต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทพีเอ็มที เดอะ อาวร์ กลาส กล่าว

มร.เทียร์รี สเติร์น คุณณรัณ ธรรมาวรานุคุปต์ และ มร.ไมเคิล เทย์ Mr Thierry Stern, Mr Narun Thamavaranukup and Mr Michael Tay
มร.เทียร์รี สเติร์น คุณณรัณ ธรรมาวรานุคุปต์ และ มร.ไมเคิล เทย์

Patek Philippe: Then Now Beyond

Mr Michael Tay, Mr Philippe Stern, Mrs Gerdi Stern, Dr Henry Tay and Dr Kenny Chan
มร.ไมเคิล เทย์ มร. ฟิลิปป์ สเติร์น คุณเกอร์ดี สเติร์น ดร. เฮนรี เทย์ และ ดร. เคนนี ชาน

“ในบรรดาผู้นำของวงการนาฬิกาที่ผมเองได้มีโอกาสได้พบปะ พูดคุยด้วยนั้น ฟิลิปป์ สเติร์น ถือได้ว่าเป็นบุคคลที่ผมชื่นชม และเคารพนับถือมากที่สุด และอุปนิสัยก็คล้ายกับคุณพ่อของผมตรงที่เป็นคนพูดน้อย แต่เมื่อใดก็ตามที่พูดออกมา ทุกๆ คำพูดจะมีความลึกซึ้งและมีน้ำหนักมหาศาล และคงจะพูดได้ว่า ไม่เคยมีใครที่ไหนในวงการนาฬิกา ที่ในหนึ่งชั่วชีวิต จะประสบความสำเร็จมากเหลือเกิน อย่างที่ฟิลิปป์ สเติร์นได้สร้างไว้ให้กับปาเต็ก ฟิลิปป์ มาจนถึงทุกวันนี้ ผู้ชายคนนี้ คือคนที่ก้าวเข้ามากุมบังเหียนบริษัทต่อจากพ่อของเขา ในท่ามกลางวิกฤตการณ์ควอตซ์ หรือ Quartz crisis ที่แทบทำให้อุตสาหกรรมนาฬิกากลไกแทบล้มลง ผู้ชายคนนี้คือคนที่กล้าสวนกระแส ท้าทายแนวคิด ณ ช่วงเวลานั้นๆ ด้วยความเชื่อมั่นว่าจะต้องสืบทอดการผลิตนาฬิกาแบบกลไก และจะไม่มีสิ่งอื่นใดมาแทนที่ได้ และยังทุ่มทุน ทุ่มแรง เพิ่มลงไปที่การศึกษาพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมการผลิตนาฬิกาให้ล้ำหน้ายิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น เขายังเลือกให้ทีมวิจัยและพัฒนาของปาเต็ก ฟิลิปป์ ทุ่มเวลายาวนานถึง 9 ปี ในการพัฒนาและผลิตนาฬิกาที่มีกลไกอันซับซ้อนที่สุดในโลก – นั่นก็คือ Caliber 89 ซึ่งเป็นดั่งจุดกำเนิดของนาฬิกาคอมพลิเคชั่นอีกหลากหลายรุ่นต่อๆ มา ที่กลายมาเป็นนาฬิกาที่เป็นที่ต้องการอย่างยิ่งในหมู่นักสะสม – อย่างเช่น Star Caliber 2000, Sky Moon Tourbillon, และ Sky Moon Celestial

ไม่เพียงแต่การผลิตนาฬิกาที่ยอดเยี่ยมเท่านั้น มร. สเติร์น ยังเป็นนักสะสมนาฬิกาคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของโลก โดยใช้เวลากว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา รวมรวบนาฬิกา ทั้งด้วยคุณภาพและประวัติความเป็นมา เป็นคอลเลคชั่น และที่สำคัญที่สุด เขาเป็นคนจิตใจกว้างขวาง ยินดีจะเปิดโอกาสให้คนทั่วไปได้มีโอกาสได้ชมนาฬิกาที่สะสมไว้ได้ที่พิพิธภัณฑ์ปาเต็ก ฟิลิปป์ (Patek Philippe Museum) ที่เจนีวา สวิตเซอร์แลนด์

สิ่งสำคัญ ที่ผมได้เรียนรู้จาก มร.สเติร์น ก็คือความมุ่งมั่น เรื่องการทำธุรกิจแบบครอบครัวอยู่บนพื้นฐานของคิดการไกล และค่านิยมหลัก ที่จะปรากฏอยู่ทั้งในบริษัทและในครอบครัว รวมทั้งเรื่องการให้ความเคารพต่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน และให้คุณค่า ให้ความสำคัญกับคำมั่นสัญญาที่มีต่อกัน เหนือกว่าเรื่องของผลประโยชน์เสมอ นี่แหละครับ สิ่งสำคัญที่ทำให้ปาเต็ก ฟิลิปป์ ได้รับการยอมรับและชื่นชมอย่างยิ่ง ทั้งในฐานะแบรนด์ผู้ผลิตนาฬิกา และในมุมของการเป็นครอบครัวผู้ผลิตนาฬิกาที่สืบทอดมายาวนาน และหากจะพูดถึงความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ที่สุดของฟิลิปป์ สเติร์นแล้ว แน่นอนว่า จะต้องพูดถึงการส่งต่อบังเหียนในฐานะประธานบริษัทปาเต็ก ฟิลิปป์ให้แก่ลูกชาย – เทียร์รี สเติร์น

Mr Thierry Stern, Dr Henry Tay and Mr Jerome Pernici
มร. เทียร์รี สเติร์น ดร. เฮนรี เทย์ และ มร. เจอโรม เพอร์นิซี

ด้วยอุปนิสัยของเทียร์รีเอง ก็ไม่ใช่คนประเภทที่จะนั่งสบายๆ อยู่บนความสำเร็จที่สั่งสมมา เขามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนโฉม ปรับปรุง ปาเต็ก ฟิลิปป์ ไม่แพ้ผู้เป็นพ่อ เทียร์รี ประสบความสำเร็จในการควบรวมให้ทุกๆ หน่วยงานด้านการผลิตให้มาอยู่ภายใต้ปาเต็ก ฟิลิปป์ และในช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา เทียร์รีก็เป็นผู้ริเริ่มเพิ่มเติมดีไซน์ใหม่ๆ ให้กับทุกคอลเลคชั่นนาฬิกาของปาเต็ก ฟิลิปป์ ยกเว้นแต่เพียง Ellipse d’Or หรือ Golden Ellipse ซึ่งเป็นคอลเลคชั่นนาฬิกาที่เปิดตัวเป็นครั้งแรกตั้งแต่สมัยที่เฮนรี สเติร์น (Henri Stern หรือ อองรี สเติร์น) คุณปู่ของเทียร์รี เป็นประธานของปาเต็ก ฟิลิปป์

เทียร์รี ถือเป็นผู้นำที่มีคุณสมบัติที่โดดเด่นสำหรับวงการผู้ผลิตนาฬิกา นั้นคือ เขาเป็นประธานเพียงคนเดียวเท่านั้นของปาเต็ก ฟิลิปป์ ที่ผ่านการฝึกและศึกษาเพื่อเป็นช่างนาฬิกาและช่างฝีมือโดยอาชีพ ซึ่งสิ่งนี้เอง ที่เป็นปัจจัยช่วยให้เทียร์รีมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งและรอบด้านในการผลิตนาฬิกา รวมทั้งการออกแบบ พัฒนา และนวัตกรรม ทำให้นาฬิกาทุกเรือนที่เขาเป็นคนวางคอนเซ็ปท์ ออกมาถูกตาถูกใจอย่างเกินความคาดหมายสำหรับแฟนๆ นาฬิกาปาเต็ก ฟิลิปป์ เทียร์รียังเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานสำคัญๆ อีกมากมายไว้ให้กับปาเต็ก ฟิลิปป์ เช่น การขยายคอลเลคชั่น rare handcrafts หรือผลงานหัตถศิลป์ที่หาได้ยาก เป็นอีกหนึ่งสาขาวิชาในการผลิตนาฬิกาด้วยศิลปะชั้นสูง ซึ่งเทียร์รีเองมีความชื่นชอบ ประทับใจ มาตั้งแต่เด็ก นอกจากนี้เขายังปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ตัวเรือนนาฬิกาให้ดูร่วมสมัยยิ่งขึ้น อย่างเช่น pierced lugs หรือการเจาะบริเวณขาตัวเรือนให้ดูโปร่ง ตื้นลึก มีมิติ ในรุ่น 5208, 5531, และ 5205 รวมถึงนำพานาฬิกาที่มีฟังก์ชั่นตั้งเวลาปลุกด้วยเสียงเตือนให้ยิ่งประสบความสำเร็จขึ้นไปอีก ด้วยการเปิดตัว 5520 Alarm Travel Time

Patek Philippe Ref. 5208R Grand Complication and Ref. 5520P Alarm Travel Time
นาฬิกา Patek Philippe Ref. Ref. 5208R Grand Complication และ Ref. 5520P Alarm Travel Time

อุปนิสัยอย่างหนึ่ง ที่จะว่าไปก็เป็นเหมือนพรสวรรค์ที่อยู่ในตัวของเทียร์รี ก็คือ ความสามารถในการรับสาร เป็นผู้ฟังที่ดี มีความสนใจใฝ่รู้ และเปิดใจ เปิดรับไอเดียใหม่ๆ อยู่เสมอ โดยไม่ละทิ้งค่านิยมที่ปลูกฝังและสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ และวางเป้าหมายที่จะนำพาปาเต็ก ฟิลิปป์ให้ประสบความสำเร็จต่อเนื่องในระยะยาว เทียร์รีเป็นคนประเภทที่ชอบมองหาอะไรใหม่ๆ รอบตัวอยู่เสมอ และมีความรักในแบรนด์ปาเต็ก ฟิลิปป์อย่างแท้จริงอย่างที่คนรอบข้างก็สามารถสัมผัสและอดที่จะชื่นชมไปด้วยไม่ได้ ผมยังจำสิ่งที่เทียร์รีเคยบอกไว้เป็นคติได้อย่างดี “คนเราเกิดมามีชีวิตเดียวเท่านั้น จงมีความสุขกับสิ่งที่ทำ และทำสิ่งนั้นด้วยความรักและทุ่มเท หากทำไม่ได้ ก็ควรไปหาสิ่งอื่นทำแทนเสีย” ไมเคิล เทย์ กรรมการผู้จัดการกลุ่มบริษัท The Hour Glass กล่าว

งานนิทรรศการ Patek Philippe Watch Art Grand Exhibition

Watch Art Grand Exhibition Singapore 2019 สุดยอดนิทรรศการนาฬิกาโดยปาเต็ก ฟิลิปป์ จัดขึ้นในวันที่ 28 กันยายน ถึง 13 ตุลาคม 2019 ที่ Sands Theatre (Marina Bay Sands) ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งงานนิทรรศการที่จัดขึ้นในช่วงเดียวกับการฉลองครบรอบ 200 ปี การก่อตั้งประเทศสิงคโปร์นี้ เป็นเครื่องตอกย้ำถึงความสำคัญของสิงคโปร์ และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในฐานะตลาดสำคัญของปาเต็ก ฟิลิปป์ ไม่เพียงในเรื่องจำนวนของเหล่านักสะสมและผู้ที่สนใจนาฬิกาในภูมิภาคเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการสร้างความนิยมชมชอบในงานประดิษฐกรรมเรือนเวลาชั้นสูงอีกด้วย รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่

 

Tags:


We’re here to help


Loading Consult A Specialist Form

Change Country

Select your country:

Share

Share via:

To find out more about our available positions, please visit our Careers page.