







ขอบตัวเรือนแบบเซาะร่อง
ขอบตัวเรือนแบบเซาะร่องของ Rolex เป็นสัญลักษณ์ของความแตกต่าง แต่เดิมการเซาะร่องของขอบตัวเรือน Oyster มีขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ด้านการใช้งาน โดยทำหน้าที่ยึดขอบตัวเรือนลงบนตัวเรือนเพื่อรับรองประสิทธิภาพในการกันน้ำของนาฬิกา จึงมีความคล้ายคลึงกับร่องบริเวณตัวเรือนด้านหลังที่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษเฉพาะของ Rolex ในการยึดลงบนตัวเรือนเพื่อการกันน้ำ แต่เมื่อเวลาผ่านไป วัตถุประสงค์ได้เปลี่ยนไป การเซาะร่องได้กลายเป็นองค์ประกอบด้านความงามและเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของ Rolex ปัจจุบันขอบตัวเรือนแบบร่องได้สร้างความโดดเด่นให้กับนาฬิกา Lady-Datejust ในรุ่นวัสดุทองคำ


หน้าปัดสีขาว
มีการนำการเคลือบเงามาผสานเข้ากับสีสันได้อย่างไร้ขีดจำกัด ด้วยความเข้มข้นและพื้นผิวอันเรียบเนียน เทคนิคการเคลือบเงาประกอบด้วยการเคลือบเงาด้วยชั้นบางๆ หกชั้นอย่างต่อเนื่องบนแผ่นฐานทองเหลือง จากนั้นจึงใช้สารเคลือบเงาที่ไม่มีสี เพื่อให้สีหรือเงาแลดูมีมิติและเงางามบนองค์ประกอบโดยรวม เมื่อสารเคลือบเงาแห้งแล้ว พื้นผิวของหน้าปัดจะถูกขัดเงาเพื่อเพิ่มสีสัน จากนั้นหน้าปัดก็พร้อมที่จะได้รับการพิมพ์ระบบแพดและรับการตกแต่ง


White Rolesor
ทองคำเป็นสุดยอดปรารถนาเนื่องจากความงดงามมันวาวและคุณค่าของมัน สตีลเสริมความแข็งแกร่งและความน่าเชื่อถือ เมื่อรวมตัวกันวัสดุทั้งสองผสานคุณสมบัติชั้นเลิศของตนให้เข้ากันได้อย่างลงตัว Rolesor สัญลักษณ์ที่แท้จริงของ Rolex ปรากฏบน Rolex รุ่นต่างๆ ตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1930 และถูกจดทะเบียนใช้ชื่อดังกล่าวในปี 1933 ถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบอันโดดเด่นของคอลเลกชัน Oyster


รุ่นที่วางจำหน่าย

