







ขอบตัวเรือนแบบเซาะร่อง
ขอบตัวเรือนแบบเซาะร่องของ Rolex เป็นสัญลักษณ์ของความแตกต่าง แต่เดิมการเซาะร่องของขอบตัวเรือน Oyster มีขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ด้านการใช้งาน โดยทำหน้าที่ยึดขอบตัวเรือนลงบนตัวเรือนเพื่อรับรองประสิทธิภาพในการกันน้ำของนาฬิกา จึงมีความคล้ายคลึงกับร่องบริเวณตัวเรือนด้านหลังที่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษเฉพาะของ Rolex ในการยึดลงบนตัวเรือนเพื่อการกันน้ำ แต่เมื่อเวลาผ่านไป วัตถุประสงค์ได้เปลี่ยนไป การเซาะร่องได้กลายเป็นองค์ประกอบด้านความงามและเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของ Rolex ปัจจุบันขอบตัวเรือนแบบร่องได้สร้างความโดดเด่นให้กับนาฬิกา Day-Date 40 ในรุ่นวัสดุทองคำ


หน้าปัดสีเทาอมน้ำเงินออมเบร
รุ่นที่รังสรรค์ขึ้นจาก Everose gold 18 กะรัต มาพร้อมหน้าปัดสีเทาอมน้ำเงินออมเบร ซึ่งเป็นเฉดสีใหม่สำหรับหน้าปัดนี้ โดยดีไซน์นี้ได้เผยให้เห็นการผันเปลี่ยนอันละเอียดอ่อนจากสีสว่างตรงกลางหน้าปัดไปสู่สีดำมืดตรงขอบ นอกจากนี้ ยังนับเป็นครั้งแรกที่มีเลขโรมันแบบแยกส่วนทรงเหลี่ยมมุม และเครื่องหมายบอกชั่วโมงแบบเหลี่ยมมุมจากพิงค์โกลด์ 18 กะรัตบนหน้าปัดแบบออมเบรเรือนนี้ ก่อนหน้านี้ หน้าปัดออมเบรของ Rolex ที่มาพร้อมเครื่องหมายบอกชั่วโมงประดับด้วยเพชรเคยได้รับการสงวนไว้สำหรับ Day-Date 36 เท่านั้น หน้าปัดนี้ได้แสดงถึงความต่อเนื่องของดีไซน์ที่ Rolex เปิดตัวในช่วงปี 1980 และเปิดตัวอีกครั้งในปี 2019 การผลิตหน้าปัดที่มีการไล่ระดับสีมายังจุดศูนย์กลางมีความสัมพันธ์กับการลงเคลือบเงาสีดำ ซึ่งอาศัยการทำงานที่ประณีตของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีหน้าที่ในการจัดการดูแลเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการไล่สีจากสีโทนสว่างไปยังสีโทนมืดจะออกมางดงามกลมกลืน


Everose gold 18 กะรัต
เพื่อรักษาความงามของนาฬิกาพิงค์โกลด์ Rolex ได้สร้างสรรค์และจดสิทธิบัติพิงค์โกลด์อัลลอยพิเศษ 18 กะรัต ที่หล่อภายในโรงหลอมของแบรนด์ ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ Everose gold Everose 18 กะรัต เปิดตัวครั้งแรกในปี 2005 โดยได้รับการนำมาใช้กับนาฬิกา Rolex ทุกรุ่นในสีพิงค์โกลด์


รุ่นที่วางจำหน่าย

